วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

ประโยชน์ของพืชผักสวนครัว

ประโยชน์ของพืชผักสวนครัว

1. ใช้รับประทานเป็นอาหารโดยอาจรับประทานสดๆ เช่น แตงกวา กะหล่ำปลี
หรือนำไปปรุงเป็นอาหารก่อน ซึ่งผักแต่ละชนิดจะมีสารอาหารที่แตกต่างกัน
เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ เป็นต้น
2. ใช้เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรค เช่น หอม กระเทียม ขิง สะระแหน่ เป็นต้น
3. ใช้ขายเพื่อเป็นรายได้ของครอบครัว
4. ทำให้ผู้ปลูกมีร่างกายแข็งแรง เพราะต้องพรวนดิน รดน้ำ ใส่ปุ๋ย และดูแลผัก
อยู่เสมอ ทำให้ได้ออกกำลังกายไปในตัว
5. ทำเป็นรั้วบ้านได้ คือ ปลูกล้อมกั้นเป็นเขตของบ้าน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า
“ผักสวนครัว รั้วกินได้” เช่น กระถิน ชะอม ตำลึง มะระ เป็นต้น

6 เหตุผลดี ๆ ที่ควรปลูกผักไว้กินเอง

6 เหตุผลดี ๆ ที่ควรปลูกผักไว้กินเอง
 
ข้อดีของการปลูกผักไว้กินเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ อ่านแล้วอาจจะชวนให้อยากเริ่มลงมือปลูกผักกินเองเลยล่ะ
      
  ด้วยปัญหาประชากรล้นเมืองอย่างในปัจจุบัน ทำให้เราแทบไม่มีพื้นที่ปลูกพืชผักกันเท่าไร แต่การซื้อหาผักในตลาดก็อาจไม่การันตีในความปลอดภัยจากสารเคมีได้เหมือนกัน ดังนั้นการปลูกผักไว้กินเองจึงเป็นทางออกที่ดีของปัญหานี้ และด้วยเหตุผลสนับสนุนที่เราได้นำมาเสนอให้ฟังกันดังต่อไปนี้ รับรองว่าได้ยินแล้วจะรีบไปซื้อเมล็ดพันธุ์กับกระถางมาปลูกผักทันทีเลย


1. ได้ผักสดและดีต่อสุขภาพมากกว่า
        เพราะตามปกติ ผักจะสูญเสียวิตามินและเกลือแร่ทันทีที่ถูกเด็ดออกจากต้น และเสียเพิ่มเติมในขั้นตอนการปรุงอาหาร ดังนั้นหากเราซื้อผักจากร้านข้างนอก ที่ใช้เวลาขนส่งและถูกแช่ไว้ในตู้เย็นเป็นเวลานานกว่าจะถึงมือเรา ผักเหล่านี้แทบไม่เหลือคุณค่าอาหารใด ๆ เลย นี่คือเหตุผลว่าทำไมการปลูกผักกินเองจึงดีกว่า เพราะนอกจากจะกรอบอร่อยเพราะความสดใหม่กว่าแล้ว ยังลดโอกาสในการสูญเสียคุณค่าทางอาหารให้น้อยลงอีกด้วย

2. มีส่วนช่วยในการดูแลโลก

        ผักต่าง ๆ ที่เราซื้อมาจากตลาดหรือซูเปอร์มาร์เกตนั้น ไม่ได้ปลูกในเมืองหรือในประเทศของเราเสมอไป ผักบางชนิดก็ถูกขนส่งมาจากพื้นที่ห่างไกล ทั้งยังต้องถูกแช่แข็งมาเพื่อรักษาความสด และยังต้องทำบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ขายได้ราคาแพง ทั้งหมดนี้ต้องใช้พลังงานและทรัพยากรจำนวนมหาศาล ดังนั้นการปลูกผักที่บ้านไว้รับประทานเอง จึงเป็นหนทางที่ดีในการรักษ์โลกได้อีกทาง

3. ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก ๆ ที่บ้าน

        เพราะการใช้ชีวิตแบบยุคสำเร็จรูปในปัจจุบัน แทบไม่เปิดโอกาสเด็ก ๆ เรียนรู้ว่าผักต่าง ๆ มาจากไหนหรือให้ประโยชน์อะไร ซึ่งเราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ง่าย ๆ ด้วยการให้เด็ก ๆ มีส่วนร่วมปลูกผักที่บ้าน ถ้าเด็ก ๆ ปลูกถั่วงอก เขาก็จะอยากลองกินถั่วงอก เพราะรู้สึกผูกพันกับพืชผักที่เขาปลูก ซึ่งท้ายที่สุดจะช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เรื่องอาหารและการกินเพื่อสุขภาพได้ง่ายนั่นเอง

4. ไม่ต้องกังวลกับยาฆ่าแมลง

        ทุกคนรู้ดีว่าผักที่ซื้อจากตลาดหรือซูเปอร์มาร์เกต ไม่ได้ปลอดภัยจากยาฆ่าแมลงเสมอไป และวิธีที่ดีกว่าการเสี่ยงต่อสารเคมีสะสม คือการปลูกผักไว้กินเอง เพราะเราสามารถดูแลควบคุมคุณภาพได้อย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน และไม่ต้องกังวลใจเรื่องสารเคมีใด ๆ อีกด้วย

5. ประหยัดเงินในกระเป๋า

        แม้ว่าในเบื้องต้นเราจะต้องลงทุนซื้อเมล็ดพันธุ์ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อปลูกผักในบ้าน แต่รับรองว่าผลหลังจากนั้นจะคุ้มค่าแน่นอน เพราะนอกจากเราจะมีผักที่สดสะอาด เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าอาหารไว้รับประทานเอง (รวมถึงแบ่งปันเพื่อนบ้านแล้ว) เรายังจะได้เมล็ดพันธุ์ของพืชมาปลูกได้อีกอย่างไม่มีวันสิ้นสุด ซึ่งช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าไปได้เยอะ อย่างที่คุณเองก็คาดไม่ถึงเชียวล่ะ


6. ทำให้เรามีความสุข

        มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ยืนยันว่าการปลูกผักไว้กินเองทำให้เรารู้สึกมีความสุขขึ้น เพราะต้นไม้สร้างพลังงานดี ๆ ให้แก่พื้นที่รอบข้าง ทั้งยังมอบความอุดมสมบูรณ์และเชื่อมโยงเรากับความมีชีวิตชีวา ดังนั้นการปลูกผักไว้กินเองนอกจากจะให้ประโยชน์ตามที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ยังทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นด้วยนั่นเอง

ผักสวนครัว 13 ชนิด ที่นำกลับมาปลูกเป็นอาหารได้อีก

ผักสวนครัว 13 ชนิด ที่นำกลับมาปลูกเป็นอาหารได้อีก

เวลาคุณๆ ไปจ่ายตลาด เลือกซื้อผักมาประกอบอาหารแต่ละครั้ง เคยคิดบ้างไหมว่า ถ้าเราปลูกผักทานเองได้ จะประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารไปได้เท่าไรต่อเดือน รวมทั้งหากเรารับประทานผักที่เราปลูกเอง ดูแลเอง จะทำให้เราได้รับประทานอาหารที่สด สะอาด ปราศจากสารพิษตกค้าง ซึ่งดีต่อสุขภาพ
Sanook! Home เลยอยากชักชวนและให้ไอเดียแก่คุณแม่บ้าน ด้วยการนำเศษเหลือจากการหั่นผักหลังใช้ประกอบอาหารแล้ว นำกลับมาปลูกใหม่อีกรอบ ซึ่งผักเหล่านี้โตเร็ว ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก ไปเลยค่ะ ออกไปจ่ายตลาด และเลือกผักกลับมาปลูกที่บ้านกัน

1.)ผักกาดหอม หรือผักสลัด เป็นผักที่โตง่ายมาก หลังจากคุณเด็ดใบของมันใช้งานแล้ว สามารถนำโคนต้นไปแช่ในชามที่มีน้ำอยู่ก้นชาม แล้วนำชามนั้นไปตั้งไว้ในที่แสงแดดส่องถึง หลังจากนั้น 3-4 วัน คุณจะได้เห็นรากของมันเริ่มงอกออกมา หลังจากนั้นคุณก็นำผักกาดหอม หรือผักสลัดนั้นไปปลูกลงดิน

2.)ผักคื่นฉ่าย เป็นผักประเภทหนึ่งที่เติบโตได้ดีจากเศษเหลือทิ้ง เพียงตัดท่อนปลายของลำต้นหลังจากการใช้งาน แล้ววางลงในชามที่บรรจุน้ำไว้เล็กน้อย จากนั้นนำชามไปวางไว้ในที่ๆ แสงแดดส่องถึงโดยตรง ประมาณ 1 สัปดาห์ผ่านไป คุณจะเริ่มเห็นใบอ่อนแทงยอดออกมาจากโคนต้น เมื่อเห็นใบอ่อนเริ่มแทงยอดออกมา คุณสามารถย้ายต้นคื่นฉ่ายนั้นลงดิน และดูแลให้มันโตขึ้นเรื่อยๆ

3.)ตะไคร้ ถ้าคุณต้องทำอาหารที่มีตะไคร้เป็นวัตถุดิบประกอบบ่อยครั้ง แต่พอถึงเวลาจะใช้ก็ไม่ค่อยมี หากเป็นเช่นนั้นหลังจากคุณซื้อตะไคร้มาจากตลาดและใช้ประกอบอาหารแล้ว ให้เก็บท่อนล่างของลำต้นไว้แล้วนำไปแช่น้ำในแก้วทรงสูง ที่มีน้ำประมาณหนึ่ง เมื่อผ่านไปสักประมาณสัปดาห์ พอต้นตะไคร้มีรากงอก คุณก็นำต้นตะไคร้ไปปลูกลงดิน หรือในสวนผักของบ้านคุณ

4.)ถั่วงอก ใครๆ ก็ทราบว่าเป็นผักที่ปลูกง่าย โตเร็ว เพียงแค่นำเมล็ดถั่วเขียวไปแช่น้ำ ทิ้งไว้ข้ามคืน วันรุ่งขึ้นเทน้ำออกจากภาชนะที่คุณนำเมล็ดถั่วไปแช่ จากนั้นนำเมล็ดถั่วเหล่านั้นไปใส่ไว้ในภาชนะที่ต้องการปลูก แล้วคลุมทับด้วยผ้าเช็ดตัวหมาดๆ เพื่อกักเก็บความชื้นให้มัน หลังจากนั้นเฝ้าดูการเจริญเติบโต และคอยสังเกตขนาดของลำต้นว่าใช้สำหรับทำอาหารที่คุณคิดเมนูเตรียมไว้ได้หรือยัง

5.)มันฝรั่ง คุณแม่บ้านคงทราบว่า เราสามารถปลูกต้นมันฝรั่งได้จากการหั่นหัวมันฝรั่งที่มีตาไปเพาะลงในดิน ทิ้งไว้ประมาณสัก 2 สัปดาห์ คุณจะได้เห็นต้นอ่อนของมันฝรั่งค่อยๆ โตขึ้น


6.)ขิง หลังจากซื้อขิงมาทำอาหารเรียบร้อยแล้ว บางครั้งเหลือเศษแห้งๆ ของแง่งขิงทิ้งไว้ ก็จะมีลำต้นอ่อนงอกออกมา เราสามารถนำเหง้าขิงชิ้นนั้นไปฝังหรือปลูกลงในดินได้เลย เพราะพอผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์ ต้นอ่อนก็จะค่อยๆ งอกขึ้นมาใหม่

7.)สัปปะรด ผลไม้รสชาติดีที่เราปลูกทานเองได้ ไม่ต้องไปซื้อให้เสียดายสตางค์ ง่ายๆ ค่ะเพียงซื้อสัปปะรดจากตลาด โดยเลือกพันธุ์ดีๆ จากนั้นใช้มีดตัดจุกสัปปะรดออก แล้วนำหัวสัปปะรดไปแช่ในภาชนะบรรจุน้ำ ที่มีขนาดพอดีกับหัวสัปปะรด เพียงไม่กี่วัน รากของมันก็จะงอกออกมาจากส่วนที่เราตัด แล้วนำไปปลูกลงในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ดูแลสักประมาณ 1 เดือน รากจะเริ่มแข็งแรง จากนั้นคอยบำรุง ใส่ปุ๋ย เพียงเท่านี้ก็ได้สัปปะรดพันธุ์ดีกินสมใจ
8.)กระเทียม เราสามารถปลูกกระเทียมได้จากกลีบของมัน เพียงแค่คุณนำกลีบกระเทียมนั้นไปเพาะให้มีรากเสียก่อน แล้วค่อยนำลงดิน โดยรากต้องอยู่ลึกลงไปในดินประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของกลีบกระเทียม แล้วคลุมด้วยฟางเพื่อกำจัดวัชพืช แล้วหมั่นรดน้ำให้พอเพียง
9.หอมหัวใหญ่ เป็นผักอีกประเภทหนึ่งที่ปลูกง่าย โตเร็วทั้งกลางแจ้งและในร่ม เพียงตัดส่วนรากของหัวไปปักลงดิน รดน้ำสม่ำเสมอ รอให้รากงอกแล้วไปปักลงดินอีกครั้งฃ

10.ฟักทอง หลังใช้ฟักทองทำอาหารแล้ว ส่วนของเมล็ดฟักทอง ให้นำเมล็ดไปตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำเมล็ดฟักทองไปหว่านลงบนดิน ที่มีแสงแดดรำไรส่องถึง รดน้ำ เพียงไม่กี่วันกล้าอ่อนของต้นฟักทองก็จะค่อยๆ งอกออกมา

11.)ผักชี ผักที่ใช้ในการทำอาหารบ่อยครั้ง เราสามารถนำลำต้นของมันไปแช่น้ำ และยกภาชนะนั้นไปตั้งไว้บริเวณที่มีแสงแดด เมื่อรากเริ่มงอก เราก็สาม

12).มะเขือเทศ คุณสามารถปลูกมะเขือเทศ โดยหว่านเมล็ดของมันไว้บริเวณไหนก็ได้ เมื่อต้นอ่อนของมันขึ้นมาก็สามารถนำกล้านั้นไปเพาะลงกระถาง เมื่อความสูงของกล้าประมาณ 2 นิ้ว ก็นำต้นออกมาไว้ด้านนอก หมั่นดูแล รดน้ำประมาณอาทิตย์ละ 2 ครั้ง เพียงไม่นานคุณก็จะได้มะเขือเทศผลงามๆ ไว้ทานสมใจ

13.)พริก เราจะปลูกด้วยเมล็ดแก่ที่เก็บเอาไว้ แต่ต้องมีการเตรียมดินให้มีธาตุอาหารที่เพียงพอ หลังจากนั้นก็รองด้วยปุ๋ยหมักในก้นหลุมที่ปลูก ถ้าเป็นกระถางก็รองที่ก้นกระถางก่อนที่จะเอาดินที่มีธาตุอาหารมาใส่ในกระถาง จากนั้นรดให้ดินชุ่ม ก่อนขีดเส้นลงไปในดินเป็นเส้นตรงซักหนึ่งเส้น แล้วใส่เมล็ดลงเล็กน้อย จากนั้นเอาฟางคลุมและรดน้ำตามอีกครั้ง

ประโยชน์ของการปลูกพืชผักสวนครัว

พืชผักสวนครัว
ผักสวนครัว คือผักที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้านหรือที่ว่างต่าง ๆ ในชุมชนต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกไว้สำหรับรับประทานเองภายในครอบครัวหรือชุมชน การปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานจะทำให้ผู้ปลูกได้รับประทานผักสดที่อุดมด้วยวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ มีความมปลอดภัยจากสารเคมี ลดรายจ่ายในครัวเรือน และที่สำคัญทำให้สมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันในการปลูกผักเพื่อเกิดสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว โดยทั่วไปคนต้องมีการบริโภคผักอย่างน้อย วันละ 200 กรัม เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน

ประโยชน์ของการปลูกผักสวนครัว
1.ปลูกเป็นรั้วบ้าน (รั้วกินได้) ผักที่สามารถนำมาปลูกทำเป็นรั้ว ได้แก่ กระถินบ้าน ชะอม ตำลึง ผักหวาน ผักปลัง ต้นแค ถั่วพู มะระ ฯลฯ ซึ่งเป็นผักที่ปลูกง่ายและให้ผลผลิตตลอดปีมีคุณค่าทางอาหารสูงและปลอดภัยจากสารเคมี
2.สามารถใช้ประดับตกแต่งบริเวณบ้าน เช่น จัดสวนผักสวนครัว การปลูกต้นแคเป็นรั้วกินได้ การนำผักสวนครัวที่ปลูกในกระถางแบบแขวน-ห้อยมาตกแต่งบริเวณรอบ ๆ บ้าน
3.ใช้พื้นที่ส่วนที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์
4.ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักมาประกอบอาหารประจำวัน
5.ครอบครัวได้รับประทานผักที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนและปลอดภัยจากสารเคมี
6.สร้างความสัมพันธ์และสานสายใยรักที่ดีในครอบครัวและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์